วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2556
ภาษาคอมพิวเตอร์ เรื่อง ภาษาเบสิก
ภาษาเบสิกิิ
ประวัติความเป็นมา
ภาษาเบสิก (BASIC LANGUAGE) ย่อมาจากคำว่า BASIC ไม่ได้แปลว่าพื้นฐาน หรือเบื้องต้น ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษแต่คำว่า BASIC เป็นคำย่อ ๆ ซึ่งมาจากคำเต็มๆ
โดยนำตัวอักษรตัวแรกมาเขียนเรียงกันซึ่งคำเต็ม ๆ ก็คือ Beginner’s
All-purpose Symbolic Instruction Code
โปรแกรมภาษาเบสิกเป็นโปรแกรมภาษาระดับสูง มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.
1960 โดยศาสตราจารย์จอนห์ เคเมนี (John Kemeny) และศาสตราจารย์โทมัส
เคอตซ์ (Thomas Kurtz) แห่งวิทยาลัยดาร์ตเม้าท์
สหรัฐอเมริกา
ภาษาเบสิกในปัจจุบัน
ภาษาเบสิคถูกพัฒนา
เพื่อใช้ในการสอนนักศึกษา ปัจจุบันได้ขยายการใช้งานไปสู่งานทางธุรกิจอีกด้วย
ภาษาเบสิคนิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และมินิคอมพิวเตอร์
สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาอื่น
เหมาะกับงานธุรกิจขนาดเล็กและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม
ลักษณะการทำงานของภาษาเบสิค
เป็นแบบโต้ตอบ (Interactive) คือ ผู้ใช้สามารถ
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องได้ระหว่างที่มีการเขียนโปรแกรม และรันโปรแกรม
ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
เมื่อพบข้อผิดพลาด
ประโยชน์ของภาษาเบสิก
- เป็นภาษาที่เรียนรู้และใช้งานง่าย
และใช้กันอย่างแพร่หลาย
- เหมาะสมกับผู้ที่เริ่มเรียนเป็นภาษาแรก
- ใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์
- เป็นภาษาที่ยืดหยุ่น สามารถแก้ไขปรับปรุง
และพัฒนาโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว
ภาษาเบสิกิิ
ประวัติความเป็นมา
ภาษาเบสิก (BASIC LANGUAGE) ย่อมาจากคำว่า BASIC ไม่ได้แปลว่าพื้นฐาน หรือเบื้องต้น ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษแต่คำว่า BASIC เป็นคำย่อ ๆ ซึ่งมาจากคำเต็มๆ
โดยนำตัวอักษรตัวแรกมาเขียนเรียงกันซึ่งคำเต็ม ๆ ก็คือ Beginner’s
All-purpose Symbolic Instruction Code
โปรแกรมภาษาเบสิกเป็นโปรแกรมภาษาระดับสูง มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.
1960 โดยศาสตราจารย์จอนห์ เคเมนี (John Kemeny) และศาสตราจารย์โทมัส
เคอตซ์ (Thomas Kurtz) แห่งวิทยาลัยดาร์ตเม้าท์
สหรัฐอเมริกา
ภาษาเบสิกในปัจจุบัน
ภาษาเบสิคถูกพัฒนา
เพื่อใช้ในการสอนนักศึกษา ปัจจุบันได้ขยายการใช้งานไปสู่งานทางธุรกิจอีกด้วย
ภาษาเบสิคนิยมใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์และมินิคอมพิวเตอร์
สามารถเขียนโปรแกรมได้ง่ายและรวดเร็วกว่าภาษาอื่น
เหมาะกับงานธุรกิจขนาดเล็กและเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มศึกษาการเขียนโปรแกรม
ลักษณะการทำงานของภาษาเบสิค
เป็นแบบโต้ตอบ (Interactive) คือ ผู้ใช้สามารถ
ติดต่อสื่อสารกับเครื่องได้ระหว่างที่มีการเขียนโปรแกรม และรันโปรแกรม
ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถพิมพ์โปรแกรมเข้าเครื่อง และแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันที
เมื่อพบข้อผิดพลาด
ประโยชน์ของภาษาเบสิก
- เป็นภาษาที่เรียนรู้และใช้งานง่าย
และใช้กันอย่างแพร่หลาย
- เหมาะสมกับผู้ที่เริ่มเรียนเป็นภาษาแรก
- ใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่จนถึงไมโครคอมพิวเตอร์
- เป็นภาษาที่ยืดหยุ่น สามารถแก้ไขปรับปรุง
และพัฒนาโปรแกรมเพื่อนำไปใช้งานได้ง่ายและรวดเร็ว

วันอังคารที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์
1.ความหมาย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่งหรือชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นมาเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่เราต้องการ เราจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรก็เขียนเป็นคำสั่ง ซึ่งต้องสั่งเป็นขั้นตอนและแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างละเอียดและครบถ้วน ซึ่งจะเกิดเป็นงานชิ้นหนึ่งขึ้นมามีชื่อเรียกว่า "โปรแกรม" ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 2 ประเภท คือ
1.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
1.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
2.ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรม มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง
มีทั้งหมด 6 ขั้นตอน คือ
1. การวิเคราะห์ปัญหา
การวิเคราะห์ปัญหา ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
1.1 กำหนดวัตถุประสงค์ของงาน เพื่อพิจารณาว่าโปรแกรมต้องทำการประมวลผลอะไรบ้าง
1.2 พิจารณาข้อมูลนำเข้า เพื่อให้ทราบว่าจะต้องนำข้อมูลอะไรเข้าคอมพิวเตอร์ ข้อมูลมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ตลอดจนถึงลักษณะและรูปแบบของข้อมูลที่จะนำเข้า
1.3 พิจารณาการประมวลผล ให้ทราบว่าโปรแกรมมีขั้นตอนการประมวลผลอย่างไร มีเงื่อนไปการประมวลผลอะไรบ้าง
1.4 พิจารณาข้อสนเทศนำออก เพื่อให้ทราบว่ามีข้อสนเทศอะไรที่จะแสดง รูปแบบและสื่อที่จะใช้ในการแสดงผล
2. การออกแบบโปรแกรม
การออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมเป็นขั้นตอนที่ใช้เป็นแนวทางในการลงรหัสโปรแกรม ผู้ออกแบบขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมอาจใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยในการออกแบบ อาทิเช่น คำสั่งลำลอง (Pseudo code) หรือ ผังงาน (Flow chart) การออกแบบโปรแกรมนั้นไม่ต้องพะวงกับรูปแบบคำสั่งภาษาคอมพิวเตอร์ แต่ให้มุ่งความสนใจไปที่ลำดับขั้นตอนในการประมวลผลของโปรแกรมเท่านั้น
3. การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
การเขียนโปรแกรมเป็นการนำเอาผลลัพธ์ของการออกแบบโปรแกรม มาเปลี่ยนเป็นโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องให้ความสนใจต่อรูปแบบคำสั่งและกฎเกณฑ์ของภาษาที่ใช้เพื่อให้การประมวลผลเป็นไปตามผลลัพธ์ที่ได้ออกแบบไว้ นอกจากนั้นผู้เขียนโปรแกรมควรแทรกคำอธิบายการทำงานต่างๆ ลงในโปรแกรมเพื่อให้โปรแกรมนั้นมีความกระจ่างชัดและง่ายต่อการตรวจสอบและโปรแกรมนี้ยังใช้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบ
4. การทดสอบและแก้ไขโปรแกรม
การทดสอบโปรแกรมเป็นการนำโปรแกรมที่ลงรหัสแล้วเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อตรวจสอบรูปแบบกฎเกณฑ์ของภาษา และผลการทำงานของโปรแกรมนั้น ถ้าพบว่ายังไม่ถูกก็แก้ไขให้ถูกต้องต่อไป ขั้นตอนการทดสอบและแก้ไขโปรแกรม อาจแบ่งได้เป็น 3 ขั้น
4.1 สร้างแฟ้มเก็บโปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่นิยมนำโปรแกรมเข้าผ่านทางแป้นพิมพ์โดยใช้โปรแกรมประมวลคำ
4.2 ใช้ตัวแปลภาษาคอมพิวเตอร์แปลโปรแกรมที่สร้างขึ้นเป็นภาษาเครื่อง โดยระหว่างการแปลจะมีการตรวจสอบความถูกต้องของรูปแบบและกฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา ถ้าคำสั่งใดมีรูปแบบไม่ถูกต้องก็จะแสดงข้อผิดพลาดออกมาเพื่อให้ผู้เขียนนำไปแก้ไขต่อไป ถ้าไม่มีข้อผิดพลาด เราจะได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สามารถให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลได้
4.3 ตรวจสอบความถูกต้องของการประมวลผลของโปรแกรม โปรแกรมที่ถูกต้องตามรูปแบบและกฎเกณฑ์ของภาษา แต่อาจให้ผลลัพธ์ของการประมวลผลไม่ถูกต้องก็ได้ ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจำเป็นต้องตรวจสอบว่าโปรแกรมประมวลผลถูกต้องตามต้องการหรือไม่ วิธีการหนึ่งก็คือ สมมติข้อมูลตัวแทนจากข้อมูลจริงนำไปให้โปรแกรมประมวลผลแล้วตรวจสอบผลลัพธ์ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่ถูกต้องก็ต้องดำเนินการแก้ไขโปรแกรมต่อไป การสมมติข้อมูลตัวแทนเพื่อการทดสอบเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลักษณะของข้อมูลตัวแทนที่ดีควรจะสมมติทั้งข้อมูลที่ถูกต้องและข้อมูลที่ผิดพลาด เพื่อทดสอบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถครอบคลุมการปฏิบัติงานในเงื่อนไขต่างๆ ได้ครบถ้วน นอกจากนี้อาจตรวจสอบการทำงานของโปรแกรมด้วยการสมมติตัวเองเป็นคอมพิวเตอร์ทีจะประมวลผล แล้วทำตามคำสั่งทีละคำสั่งของโปรแกรมนั้นๆ วิธีการนี้อาจทำได้ยากถ้าโปรแกรมมีขนาดใหญ่ หรือมีการประมวลผลที่ซับซ้อน
การทำเอกสารประกอบโปรแกรมเป็นงานที่สำคัญของการพัฒนาโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมเข้าใจวัตถุประสงค์ ข้อมูลที่จะต้องใช้กับโปรแกรม ตลอดจนผลลัพธ์ที่จะได้จากโปรแกรม การทำโปรแกรมทุกโปรแกรมจึงควรต้องทำเอกสารกำกับ เพื่อใช้สำหรับการอ้างอิงเมื่อจะใช้งานโปรแกรมและเมื่อต้องการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม เอกสารประกอบโปรแกรมที่จัดทำ ควรประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
1. วัตถุประสงค์
2. ประเภทและชนิดของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่ใช้ในโปรแกรม
3. วิธีการใช้โปรแกรม
4. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบโปรแกรม
5. รายละเอียดโปรแกรม
6. ข้อมูลตัวแทนที่ใช้ทดสอบ
7. ผลลัพธ์ของการทดสอบ
6. การบำรุงรักษาโปรแกรม
เมื่อโปรแกรมผ่านการตรวจสอบตามขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว และถูกนำมาให้ผู้ใช้ได้ใช้งาน ในช่วงแรกผู้ใช้อาจจะยังไม่คุ้นเคยก็อาจทำให้เกิดปัญหาขึ้นมาบ้าง ดังนั้นจึงต้องมีผู้คอยควบคุมดูแลและคอยตรวจสอบการทำงาน การบำรุงรักษาโปรแกรมจึงเป็นขั้นตอนที่ผู้เขียนโปรแกรมต้องคอยเฝ้าดูและหาข้อผิดพลาดของโปรแกรมในระหว่างที่ผู้ใช้ใช้งานโปรแกรม และปรับปรุงโปรแกรมเมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้น หรือในการใช้งานโปรแกรมไปนานๆ ผู้ใช้อาจต้องการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบงานเดิมเพื่อให้เหมาะกับเหตุการณ์ นักเขียนโปรแกรมก็จะต้องคอยปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมตามความต้องการของผู้ใช้ที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
การพัฒนาโปรแกรมจะดำนเนินการตามขั้นตอนที่ 1-6 ซึ่งแต่ละขั้นตอน สามารถย้อนกลับไปทำในขั้นตอนก่อนหน้านี้ได้ เมื่อเกิดความผิดพลาด หรือพัฒนาโปรแกรมไม่ครบถ้วน หรือไม่ตรงตามความต้องการของู้ใช้ในทุกขั้นตอน ซึ่งการดำเนนการต่ง ๆ ของขั้นตอนที่ 1-6 เราจะต้องมีการดำเนินการทำเอกสารประกอบโปรแกรม ควบคู่กับการดำเนนการพัฒนาโปรแกรมตลอด เมื่อเกิดารแก้ไขเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลอะไรก็ตามในโปรแกรมจะต้องทำการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรมในอนาคต สำหรับผู้พัฒนาที่จะต้องมาดูแลการใช้งานโปรแกรม และเมื่อพัฒนาโปรแกรมเสร็จแล้ว ก็จะต้องดำเนินการทำเอกสารประกอบการใช้งานให้กับผู้ใช้ เพื่อที่จะสามารถใช้โปรแกรมได้ครบถ้วน และถูกต้อง
วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
การถ่ายทอดความคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยอัลกอริทึม
การถ่ายทอดความคิดในการแก้ไขปัญหาด้วยอัลกอริทึม
อัลกอริทึม (Algorithm)
คือ กระบวนการ การทำงานที่ใช้การตัดสินใจ โดยนำหลักเหตุผลและคณิตศาสตร์มาช่วยเลือกวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป จนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้าย เป็นวิธีการที่ใช้แยกย่อยและเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการในการทำงานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแก้ไขปัญหา
เครื่องมือที่ใช้ในการจำลองความคิด
มักจะประกอบขึ้นด้วยเครื่องหมายที่แตกต่างกันหลายอย่าง แต่พอสรุปได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การจำลองความคิดเป็นข้อความหรือคำบรรยาย (Algorithm)
เป็นการเขียนเค้าโครงด้วยการบรรยายเป็นภาษาที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนการทำงานของการแก้ปัญหาแต่ละตอน ในบางครั้งอาจใช้คำสั่งของภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมก็ได้
2. การจำลองความคิดเป็นสัญลักษณ์หรือผังงาน (Flowchart)
สัญลักษณ์ คือ เครื่องหมายรูปแบบต่างๆ ซึ่งใช้สำหรับสื่อสารความหมายให้เข้าใจตรงกัน สถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา ได้กำหนดสัญลักษณ์ไว้เป็นมาตรฐานแล้วสามารถนำไปใช้ได้ตามความเหมาะสมต่อไป
การเขียนรหัสจำลอง
รหัสลำลองหรือ pseudocode เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี(algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม โดยอาจใช้ภาษาที่ใช้ทั่วไปและอาจมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประกอบ แต่ไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการเขียน pseudocode และไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรง(เพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์) และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง นิยมใช้ pseudocode แสดง algorithmมากกว่าใช้ผังงาน เพราะผังงานอาจไม่แสดงรายละเอียดมากนักและใช้สัญลักษณ์ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเขียน เช่นโปรแกรมใหญ่ ๆ มักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆ เช่น begin…end, if…else, do…while, while, for, read และ print การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆที่จะใช้ในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) แทนการกำหนดค่าให้กำหนดตัวแปรนั้นๆ
การเขียนผังงาน
ผังงาน (flowchart) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร
ประเภทของผังงาน
1. ผังงานระบบ (system flowchart) เป็นผังซึ่งแสดงขอบเขต และลำดับขั้นตอนการทำงานของระบบหนึ่ง ๆ
2. ผังงานโปรแกรม (Program flowchart) เป็นผังงานซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง ๆ
การใช้สัญลักษณ์
จะใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพแทนคำสั่งการทำงานโดยจะไม่ใช้คำอธิบายลักษณะการทำงาน มีลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นไปสิ้นสุดโปรแกรม
คือ กระบวนการ การทำงานที่ใช้การตัดสินใจ โดยนำหลักเหตุผลและคณิตศาสตร์มาช่วยเลือกวิธีการหรือขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป จนกระทั่งถึงขั้นตอนสุดท้าย เป็นวิธีการที่ใช้แยกย่อยและเรียงลำดับขั้นตอนของกระบวนการในการทำงานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและแก้ไขปัญหา
รหัสลำลองหรือ pseudocode เป็นคำบรรยายที่เขียนแสดงขั้นตอนวิธี(algorithm) ของการเขียนโปรแกรม โดยใช้ภาษาที่กะทัดรัด สื่อสารกับโปรแกรมเมอร์ผู้เขียนโปรแกรม โดยอาจใช้ภาษาที่ใช้ทั่วไปและอาจมีภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมประกอบ แต่ไม่มีมาตรฐานแน่นอนในการเขียน pseudocode และไม่สามารถนำไปทำงานบนคอมพิวเตอร์โดยตรง(เพราะไม่ใช่คำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์) และไม่ขึ้นกับภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง นิยมใช้ pseudocode แสดง algorithmมากกว่าใช้ผังงาน เพราะผังงานอาจไม่แสดงรายละเอียดมากนักและใช้สัญลักษณ์ซึ่งทำให้ไม่สะดวกในการเขียน เช่นโปรแกรมใหญ่ ๆ มักจะประกอบด้วยคำสั่งต่างๆที่ใกล้เคียงกับภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมจริงๆ เช่น begin…end, if…else, do…while, while, for, read และ print การเขียนรหัสจำลองจะต้องมีการวางแผนสำหรับการอ้างอิงถึงข้อมูลต่างๆที่จะใช้ในโปรแกรมด้วยการสร้างตัวแปร โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ (=) แทนการกำหนดค่าให้กำหนดตัวแปรนั้นๆ
การเขียนผังงาน
ผังงาน (flowchart) คือ แผนภาพซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนของการทำงาน โดยแต่ละขั้นตอนจะถูกแสดงโดยใช้สัญลักษณ์ซึ่งมีความหมายบ่งบอกว่า ขั้นตอนนั้น ๆ มีลักษณะการทำงาน ทำให้ง่ายต่อความเข้าใจ ว่าในการทำงานนั้นมีขั้นตอนอะไรบ้าง และมีลำดับอย่างไร

ประเภทของผังงาน
1. ผังงานระบบ (system flowchart) เป็นผังซึ่งแสดงขอบเขต และลำดับขั้นตอนการทำงานของระบบหนึ่ง ๆ
2. ผังงานโปรแกรม (Program flowchart) เป็นผังงานซึ่งแสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง ๆ
การใช้สัญลักษณ์
จะใช้สัญลักษณ์ที่เป็นรูปภาพแทนคำสั่งการทำงานโดยจะไม่ใช้คำอธิบายลักษณะการทำงาน มีลูกศรแสดงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่เริ่มต้นไปสิ้นสุดโปรแกรม


วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ
มี 4 ขั้นตอนดังนี้
1. เรื่อง การวิเคราะห์และก าหนดรายละเอียดของปัญหา
การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา (State the problem) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนแรก
ในการแก้ปัญหา จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้ คือการทำความเข้าใจกับปัญหาเพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่
กำหนดมาในปัญหา หรือเงื่อนไขของปัญหาคืออะไร และสิ่งที่ต้องการคืออะไร ทั้งวิธี การที่ใช้ประมวลผล ในการวิเคราะห์ปัญหาใด จะมีองค์ประกอบในการวิเคราะห์ ดังนี้
1. การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่ การพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขที่ก าหนดมาในปัญหา
2. การระบุข้อมูลออก ได้แก่ การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาค าตอบ
3. การก าหนดวิธีประมวลผล ได้แก่การพิจารณาขั้นตอนวิธีการได้มาซึ่งค าตอบหรือข้อมูลออก
ตัวอย่าง การหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
o ข้อมูลเข้าคือ ความกว้าง และความยาวของด้านของสี่เหลี่ยม
o ข้อมูลออก คือ พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
o การประมวลผลคือน าขนาดความกว้าง และความยาวของด้านของสี่เหลี่ยมมาหา
พื้นที่โดยการคูณ
2. เรื่อง การเลือกเครื่องมือ และออกแบบขั้นตอนวิธี
ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการเลือกเครื่องมือ และออกแบบขั้นตอนวิธี (Tools and Algorithm
development) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียดถี่ถ้วน หลังจากที่เราท าความเข้าใจกับปัญหา พิจารณาข้อมูล และเงื่อนไขที่มีอยู่ และสิ่งที่ต้องการหาในขั้นตอนที่ 1 แล้ว เราสามารถคาดคะเนวิธีการที่จะใช้ในการแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้จ าเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ปัญหาเป็นหลัก หากผู้แก้ปัญหาเคยพบกับปัญหาท านองนี้มาแล้วก็สามารถด าเนินการตามแนวทางที่เคยปฏิบัติมา ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ปัญหา โดยพิจารณาความเหมาะสมระหว่างเครื่องมือกับเงื่อนไขต่าง ๆ ของปัญหา ซึ่งหมายรวมถึงความสามารถของเครื่องมือในการแก้ปัญหาดังกล่าว และสิ่งที่สำคัญคือความคุ้นเคยในการใช้งานเครื่องมือนั้น ๆ ของผู้แก้ปัญหา เช่นต้องการศึกษาข้อมูลจาก ระบบเครือข่าย Internet ผู้แก้ปัญหาก็ต้องสามารถใช้ระบบเครือข่ายดังกล่าวได้อีกสิ่งหนึ่งที่ส าคัญในการแก้ปัญหา คือยุทธวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหาหรือเรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ในการแก้ปัญหา หลังจากที่เราได้เครื่องมือช่วยแก้ปัญหาแล้ว ผู้แก้ปัญหาต้องวางแผนว่าจะใช้เครื่องมือดังกล่าวเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง และดีที่สุดการออกแบบขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหา ผู้แก้ปัญหาควรใช้แผนภาพ หรือเครื่องมือในการแสดงขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ เช่น ผังงาน (flowchart) ที่จำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของสัญลักษณ์ รหัสจำลอง (pseudo code) ซึ่งเป็นการจำลองขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาในรูปของค าบรรยาย การใช้เครื่องมือช่วยออกแบบดังกล่าวนอกจากแสดงกระบวนการที่ชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้ผู้แก้ปัญหาสามารถหาข้อผิดพลาดของวิธีการที่ใช้ได้ง่าย และแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว
3.เรื่อง การดำเนินการแก้ปัญหา
หลังจากที่เราได้เลือกเครื่องมือ และออกแบบขั้นตอนวีการในการในการแก้ปัญหาแล้ว ขั้นต่อไปก็คือการดำเนินการแก้ปัญหา (Implementation) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหา โดยใช้
เครื่องมือที่ได้เลือกไว้ หากการแก้ปัญหาดังกล่าวใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงาน ขั้นตอนนี้ก็เป็นการใช้โปรแกรมสำเร็จ หรือใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เขียนโปรแกรมเพื่อแก้ปัญหา ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือที่เลือกใช้ซึ่งผู้แก้ปัญหาต้องศึกษาให้เข้าใจ และมีความรู้ความสามารถในการเขียนโปรแกรมเป็นอย่างดีในขณะที่ดำเนินการหากพบแนวทางที่ดีกว่าที่ออกแบบไว้ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้
4.เรื่อง การตรวจสอบและปรับปรุง
การตรวจสอบและปรับปรุง (Refinement) หลังจากที่ลงมือแก้ปัญหาแล้ว ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า
วิธีการนั้นให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง โดยผู้แก้ปัญหาต้องตรวจสอบว่าขั้นตอนวิธีที่สร้างขึ้นสอดคล้องกับรายละเอียด
ของปัญหา ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเข้า และข้อมูลออก เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรองรับข้อมูลเข้าได้ในทุกกรณีอย่าง
ถูกต้องและสมบูรณ์ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงวิธีการเพื่อให้การแก้ปัญหานี้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นดังกล่าวข้างต้น เป็นเสมือนขั้นบันได ที่ท าให้มนุษย์สามารถประสบความส าเร็จใน
การแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้รวมทั้งการเขียนหรือพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาก็ต้องใช้กระบวนการ
ตามขั้นตอนทั้ง 4 นี้เช่นกัน
การจำลองความคิด
การแก้ปัญหาจะประสบความส าเร็จได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผน และแผนการที่ได้
ดำเนินการวางไว้แล้วนั้นจะเป็นไปตามแผนหรือไม่นั้นจะต้องค านึงถึงประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ การวิเคราะห์เหตุผลของการทำงานของคณะทำงานร่วมกัน และส่วนที่สำคัญคือการมอบหมายงานให้กับผู้รับผิดชอบให้ตรงกับความสามารถของทีมงานแต่ละคน และ ทุกคนต้องเข้าใจขั้นตอนใน การทำงาน เป้าหมายของการแก้ไขปัญหาตรงกัน สิ่งเหล่านี้เริ่มจากการวางแผนอย่าง
ก็จะสามารถท าความเข้าใจกระบวนการการท างานได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะปัญหาที่ยุ่งยากซับซ้อน
และเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน เป็นวิธีการซักซ้อมความเข้าใจถึงวิธีการทำงานก่อนลงมือปฏิบัติจะ
ได้หาวิธีการแก้ปัญหาก่อนที่จะเกิดจริง หรืออาจเกิดแนวทางในการปฏิบัติการที่ดีขึ้นกว่าที่วางแผนไว้
ทำให้เกิดการประหยัดเวลา และทรัพยากรอีกก็อาจเป็นได้เครื่องมือที่ใช้ในการจ าลองความคิดมักจะ
ประกอบขึ้นด้วยเครื่องหมายที่แตกต่างกันหลายอย่าง สรุปได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1. ข้อความหรือค าบรรยาย
เป็นการเขียนเค้าโครงด้วยการบรรยายเป็นภาษามนุษย์ใช้สื่อสารกัน เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอน
การท างานของการแก้ปัญหาแต่ละตอน เช่น
1.1. เริ่มต้นท างาน
1.2. สืบค้นข้อมูลวิธีการทอผ้ากาบบัวในเว็บไซต์ต่าง ๆ
1.3. รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสืบค้นจากเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยใช้โปรแกรมประมวลผลค า
1.4. จัดเก็บข้อมูลไว้ในแผ่นดิสก์
1.5. สร้างเป็นสารสนเทศเรื่อง “วิธีการทอผ้ากาบบัวของจังหวัด อุบลราชธานี โดย ใช้
โปรแกรมประมวลผลค าจัดท าเป็นแผ่นพับ
1.6. เสร็จสิ้นการท างาน
2. การใช้สัญลักษณ์
เป็นการน าเอาเครื่องหมายรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งใช้ส าหรับสื่อสารความหมายให้เข้าใจตรงกัน ซึ่ง
เราจะใช้สัญลักษณ์ที่ก าหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกา (The American
National Standard Institute, ANSI) ซึ่งสามารถน าไปใช้ได้ตามความเหมาะสมเป็นขั้นตอน อย่างเป็นระบบ และการนำแผนการปฏิบัติมาจำลองความคิด
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556
tha kmchn
PROFILE
NAME : Kamonchanok Yusapsorn (tha)
AGE : 16
TWITTER : Thaye1324
FACEBOOK : Tha Ye Elf
I'M ELF
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)